การสัมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 14 และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ครั้งที่ 1 วันที่ 17-19 ธันวาคม 2557ผลงานวิจัยได้รับคัดเลือก ให้นำเสนอ จำนวน 2 เรื่อง คือ
    1. สื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อไม่ติด ไม่ตาย และ ไม่ตีตรา: ความนิยมและสัดส่วนในการรับสื่อตามกลุ่มเป้าหมาย ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอแบบบรรยาย
    2. การรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัย สื่อที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมของชุมชน จำเป็นในการสนับสนุนให้ พนักงานบริการไปสู่เป้าหมาย ไม่ติดไม่ตายและไม่ตีตรา        ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอแบบโปสเตอร์
(ดาวน์โหลดโปสเตอร์)
รองศาสตราจารย์ ดร.สุคนธา คงศีล หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์และพัฒนาเนื้อหาวิชาการ และพิจารณาผลงานวิชาการ/บทเรียนประสบการณ์การทำงาน    ในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 14 และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ครั้งที่ 1 ได้นำทีมนักวิจัยในศูนย์วิจัยฯเข้าร่วมจัดการประชุมดังกล่าว ในส่วนของ Symposiums จำนวน 8 Sessions    และOral Session จำนวน 3 Sessions รายละเอียดดังนี้
   Symposium 01 : มาตรการไม่ตีตราและไม่เลือกปฏิบัติเป็นจริงได้หรือไม่
การตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี หรือกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (MSM, TG, SW, PWID, และ Migrant) เป็นสาเหตุสำคัญที่ขัดขวางการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและจำเป็นต่อพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน การรักษา รวมไปจนถึงการดูแลสนับสนุนทางด้านสวัสดิการทางสังคมต่างๆที่พวกเขาควรจะได้รับ การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีเอดส์นั้นเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานบริการสุขภาพหรือโรงพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการเข้าสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ของทั้งสามศูนย์ของแผนเอดส์ชาติ เนื่องจากการตีตราและการเลือกปฏิบัติอาจทำให้คนไม่กล้าเข้ามารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น อาจทำให้ป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ไม่บรรลุเป้าหมาย และถ้าหากพวกเขาทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีแล้วก็อาจทำให้เขาหลีกเลี่ยงการเสาะแสวงหา หรือการเข้ารับบริการด้านเอชไอวีเนื่องจากกลัวการถูกตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานบริการสุขภาพหรือโรงพยาบาล ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมและต่อเนื่องแล้วก็อาจทำให้การตายเนื่องจากเอดส์ยังคงมีอยู่ ซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผุ้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คือ
1. คุณนิกร ฉิมคง มูลนิธิ HIV Foundation ประเทศไทย
2. นายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (สอวพ.)
3. นายแพทย์ภูษิต ประคองสาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
4. คุณสุภัทรา นาคะผิว มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
5. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Symposium 02 : สถานการณ์ นโยบาย และทิศทางการดำเนินงานด้านเอดส์ในกลุ่มประชากรข้ามชาติในบริบทของประชาคมอาเซียน (Migrant)
กลุ่มแรงงานข้ามชาติมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีเนื่องจากความแตกต่างทางวิถีชีวิต ภาษาและวัฒนธรรม ทำให้ยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตและเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการป้องกันและการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ไม่ได้ลงทะเบียนแรงงาน แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะได้จัดระบบประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ ที่ครอบคลุมการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯ หากแต่ในทางปฏิบัติยังมีประชากรข้ามชาติที่ยังไม่เข้าระบบประกันสุขภาพอยู่จำนวนมาก และด้วยการที่ประชากรข้ามชาติมีการเคลื่อนย้ายเข้าออกจากประเทศไทย ในลักษณะต่างๆ จึงทำให้ประเด็นความต่อเนื่องของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการความร่วมมือทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งทำให้มีการอพยพของแรงงานมากขึ้น ทั้งจากไทยไปเพื่อนบ้านและจากเพื่อนบ้านมายังไทย ประเทศที่เป็นต้นทางและปลายทางของการอพยพควรจะได้มีการเตรียมการเพื่อรับมือกับปัญหาการติดเชื้อรายใหม่ และการป่วย ตายจากเอช ไอ วี และเอดส์ และการตีตราในหมู่แรงงานข้ามชาติทั้งผู้ที่อพยพออกและผู้อพยพเข้า เพื่อให้ประชากรของตนและของเพื่อนบ้านได้รับการดูแลเอาใจใส่โดยทั่งถึงและเป็นธรรม ซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผุ้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน คือ
1. แพทย์หญิงเพชรศรี ศิรินิรันดร์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
2. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร
3. คุณพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ มูลนิธิรักษ์ไทย
4. นายแพทย์บัญชา ค้าของ กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
Symposium 03 : มาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาและสารเสพติดในประเทศไทย: ฝันที่ไกลแต่ยังไปไม่ถึง (Harm Reduction )
เป็นการทบทวนความก้าวหน้า บทเรียน ความสำเร็จ และ สิ่งท้าทาย จากการดำเนินงานตาม มาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาและสารเสพติด (Harm Reduction) ของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 โดยครอบคลุมมาตรการด้านต่างๆ ได้แก่ การดูแลรักษาด้วยชุดบริการที่ได้มาตรฐาน การดำเนินงานป้องกันที่รอบด้าน การสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมและกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการป้องกันและการดูแลรักษา การเพิ่มความร่วมรับผิดชอบและเป็นเจ้าของร่วมในระดับต่างๆ และ การลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ ซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผุ้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน คือ
1. อาจารย์ ดร.ดรุณี ภู่ขาว คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. นายแพทย์วิโรจน์ วีรชัย สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
3. คุณวีระพันธ์ งามมี มูลนิธิพีเอสไอ (ประเทศไทย)
4. คุณชวนพิศ ชุมวัฒนะ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
5. คุณวรญาณ บุญณราช นายอำเภอ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
6. คุณศักดิ์ดา เผือกชาย เครือข่ายผู้ใช้ยาแห่งประเทศไทย
Symposium 06 : Triple Zero : Innovation for Stopping AIDS and Sexual Problems
ในช่วงที่ผ่านมามีการพัฒนาความรู้ในด้าน ยา วัคซีน เครื่องมือ และ วิธีการใหม่ๆ ในการดูแลรักษาเอดส์นอกเหนือไปจากยาต้านไวรัส จากการศึกษาและวิจัยในประเทศต่างๆ ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ เพื่อนำไปสู่การไม่ติด ไม่ตายและไม่ตีตรา บุคลากรสาธารณสุข นักวิชาการ และ ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนา มีความจำเป็นที่จะได้ข้อมูล แนวคิดใหม่ๆ ที่ทันสมัย สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปพัฒนาการป้องกัน การดูแล รักษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ โรคเอดส์ นอกจากนั้นยังจะนำไปสู่ประเด็นในการวิจัยต่อไปในอนาคต ซึ่งการซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผุ้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คือ
1. นายแพทย์จรุง เมืองชนะ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
2. นายแพทย์อนุพงศ์ ชิตวรากร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
3. นายแพทย์ศุภชัย ฤกษ์งาม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
4. นายแพทย์พสุวัฒน์ คงศีล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
5. นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากรผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ (Director of Center for Health Policy and Management)
Symposium 11 : มาตรการการป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(ECS)จากแม่ไปสู่ลูก :ความท้าทายจาก PMTCT สู่ eMTCT ในปี 2014
นำเสนอแนวทางการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกอย่างครบวงจรในทีมสหวิชาชีพ โดยมีเป้าหมาย Getting to zero และแนวทางที่จะนำไปสู่ eMTCT ตามแม่ให้ติด-ตามเด็กให้เจอกับการติดตามมารดามาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและติดตามเด็กมาตรวจเลือดจนครบ ซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผุ้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คือ
1. คุณนิรมล ปัญสุวรรณ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
2. นายแพทย์กิตติภูมิ ชินหิรัญ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข
3. แพทย์หญิงจุฑาภรณ์ อุทัยแสน สถาบันบำราศนราดูร
4. คุณลาวัลภ์ ฤกษ์งาม สถาบันบำราศนราดูร
5. นายแพทย์ดนัย ธีวันดา สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Symposium 15 :ทศวรรษที่เปลี่ยนผ่าน หาทางออกในการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อร่วมยุติปัญหาเอดส์และเพศสัมพันธ์ ( STI Clinic Policy)
ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลังนโยบายการลดกำลังคนภาครัฐ มีการปรับเปลี่ยนนโยบายและเกิดการปรับเปลี่ยนหน่วยงานที่ดูแลการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากเดิมหน่วยงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบ ไปสู่การดูแลรักษา โดยโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป การเสวนานี้จะครอบคลุมถึงสถานการณ์ ผลกระทบ นโยบายและ การหาหนทางที่เหมาะสมในการดูแล รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีความเหมาะสม นำไปสู่การไม่ติด ไม่ตายและไม่ตีตรา เพื่อร่วมยุติปัญหาเอดส์และเพศสัมพันธ์ต่อไป ซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผุ้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน คือ
1. นายแพทย์นิสิต คงเกริกเกียรติ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข
2. นายแพทย์นพดล ไพบูลย์สิน สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
3. แพทย์หญิงอังคณา เจริญวัฒนาโชคชัย กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข

Symposium 18 : เรื่อง ความก้าวหน้า และความท้าทายของการรักษาวัณโรคในประเทศไทย (Emerging Advances and Challenges in TB Care in Thailand)
ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศ ที่มีความชุกของวัณโรคสูงที่สุดในโลก แต่ละปีมีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาอย่างน้อย 70,000 ราย นอกจากนั้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการป่วยเป็นวัณโรค และการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี สถานการณ์ดังกล่าวเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมวัณโรคในประเทศไทย เนื่องจากการวินิจฉัยวัณโรคในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีข้อจำกัดด้านอาการแสดง จึงต้องอาศัยเทคโนโลยี ขั้นสูงทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นอุปสรรค ในพื้นที่ที่มีความจำกัดของทรัพยากร การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านเคลื่อนย้ายเข้ามาหารายได้ในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มเป็นแรงงานไร้ผีมือ ซึ่งเป็นประชากรที่มีระดับสังคมเศรษฐกิจต่ำและเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงของวัณโรค จากความน่าจะเป็นของสถานการณ์ดังกล่าว อาจทำให้สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น บุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ที่มีแนวโน้มที่แรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านย้ายถิ่นเข้ามาจำนวนมาก จะกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาวัณโรคในอนาคตอันใกล้ ซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คือ
1. ดร.ศิรินภา จิตติมณี สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
2. นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
3. นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
4. นายแพทย์วีระวัฒน์ มโนสุทธิ สถาบันบำราศนราดูร
5. ดร.ปิยะดา คุณาวรารักษ์ สำนักป้องกันและควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม

Symposium 19 :การตรวจทางห้องปฏิบัติการในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในยุค AEC
การตรวจการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย การตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหนองใน การตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม การตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิส การตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแผลริมอ่อน ซึ่งการอภิปรายใน Session นี้มีวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน คือ
1. คุณสุรพล เกาะเรียนอุดม สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2. ผศ. ศักดิ์ชัย เดชตรัยรัตน์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. รศ. ดร. ทวีศักดิ์ ตีระวัฒนพงศ์โรงพยาบาลกรุงเทพ
4. คุณบุศรา บำรุงศักดิ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 
 

   


 
กลับสู่หน้าหลัก