โครงการวิจัยการควบคุมกำกับและประเมินผลการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์
เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
Monitoring and Evaluation Research on Model Development and Redefine Mechanisms for AIDS Prevention and Alleviation in Youth and other Most at Risk Population     

ขอบเขตเนีือหา    

การดำเนินการควบคุม กำกับ และประเมินผล ฯ จะดำเนินการภายใต้หัวข้อและขอบเขตเนื้อหา ดังนี้
1.1 ทบทวนความสอดคล้องกับกรอบแผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 และตามกลยุทธ์การป้องกันเอดส์ของคณะอนุกรรมการกำกับการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์ ครอบคลุมประเด็นสำคัญเชิงกลยุทธ์ ดังนี้ 
       -เสริมสร้างศักยภาพและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเยาวชนทั้งในชุมชน สถานศึกษา และสถานประกอบการ กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เครือข่ายองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรรัฐ และภาคธุรกิจในการร่วมดำเนินกิจกรรม ป้องกันโรคเอดส์ในเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (กลยุทธ์ที่2)                                                                                                                                                        1.2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานช่วงเวลาที่ได้รับทุนสนับสนุน มีนาคม 2552-กุมภาพันธ์ 2553 เป็นระยะๆ ในประเด็น(ขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ มีนาคม – สิงหาคม 2553)
      - การถอดบทเรียนการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันเอดส์  รวมทั้งเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างภาคีเครือข่ายกระบวนงานของกลุ่มเยาวชน และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ให้เกิดการพัฒนากลไกที่ยั่งยืนโดยใช้ศักยภาพของเครือข่าย และนวัตกรรมของพื้นที่ว่าเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 1.3 สังเคราะห์สรุปผลการถอดองค์ความรู้จากการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อีกทั้งเพื่อได้ข้อบ่งชี้ เกี่ยวกับแนวปฏิบัติหรือกลวิธีในการป้องกันโรคเอดส์ ที่มีประสิทธิผลคุ้มทุน ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม       -สิ่งที่เป็นช่องว่าง (gap) และอุปสรรคต่อการบรรลุความสำเร็จของแต่ละโครงการในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

1.4ประเมินผลการดำเนินงาน ตามโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกเพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ ในกลยุทธ์ที่ 2 ซึ่งมีลักษณะกึ่งวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) คือมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาพร้อมๆ กับการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากปฏิบัติการต่างๆ ที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปสู่ประสิทธิผลในการจัดการกับปัญหาที่ดีขึ้น แม้ว่าเป้าหมายสูงสุดของโครงการฯ คือการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย แต่ภายในข้อจำกัดของระยะเวลา ทำให้ตัวชี้วัดเมื่อสิ้นสุดโครงการในระยะเวลาที่กำหนด (มีนาคม 2552-กุมภาพันธ์ 2553) ในส่วนของการป้องกัน/แก้ไขปัญหา จึงประกอบด้วย(ขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ มีนาคม – สิงหาคม 2553)
      - ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ
          A มีความตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์
          B มีความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์
          C สามารถประเมินความเสี่ยงของตนเอง และ
          D มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (เกิดผลลัพธ์ในเชิงการป้องกันภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการ ฯ แล้ว)
     -  ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการและ/หรือเชิงนโยบาย เรื่องกลไกการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์ สำหรับประเทศไทย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ที่สังเคราะห์จากการดำเนินงานในพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุน
      -  ผลผลิตในภาพรวม
          A การควบคุม กำกับ และประเมินผลเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติการรณรงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ตามข้อเสนอแนะคณะอนุกรรมการกำกับการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์
          B รูปแบบการป้องกันที่จัดว่าเป็นนวัตกรรม
          C ศักยภาพความเข้มแข็งของเครือข่าย
          D การขยายผลให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
1.5 ประเมินผลการดำเนินงาน ตามโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกเพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ ในกลยุทธ์ที่ 2 ซึ่งมีลักษณะกึ่งวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) คือมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาพร้อมๆ กับการสังเคราะห์การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น แกนนำ อาสาสมัคร และ ชุมชน
1.6  ผลผลิตจากการดำเนินงานตามโครงการที่ติดตาม ได้แก่
       - ความรู้
       - ความตระหนัก
       - ทักษะ
       - การประเมินความเสี่ยง และ
       - พฤติกรรมการป้องกัน

1.7 ความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายประกอบด้วย
      - การพัฒนาโครงการร่วมกันโดยกลุ่มองค์กร
      - มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันแบ่งงานอย่างชัดเจน
      - มีกลไกพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายและคนทำงานในองค์กร
      - มีระบบประสานงานชัดเจนระหว่างองค์กร
      - มีความยั่งยืนของภาคีเครือข่าย

1.8 การบริหารจัดการโครงการ
      - การเงิน การบัญชี
      - คุณภาพของกระบวนการจัดกิจกรรม
      - ความเหมาะสมของโครงการ
      - ความพอเพียงของตัวโปรแกรม
      - ความสามารถของผู้ดำเนินโครงการ
      - ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
      - ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

ทั้งนี้แบบสอบถามและเครื่องมือ จะถูกพัฒนาและนำเสนอต่อคณะกรรมการกำกับทิศทางการดำเนินงานโครงการวิจัยการควบคุมกำกับและ ประเมินผล โครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันเอดส์  ศูนย์ประสานงานพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์ป้องกันเอดส์ และ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข