โครงการวิจัยการควบคุมกำกับและประเมินผลการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์
เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
Monitoring and Evaluation Research on Model Development and Redefine Mechanisms for AIDS Prevention and Alleviation in Youth and other Most at Risk Population     

2.กระบวนการ ควบคุม กำกับ และประเมินผล  

    2.1 เสริมพลังของผู้ปฏิบัติงานผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
          2.1.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ถอดบทเรียนทุก 3 เดือน โดยให้ทุกโครงการรายงานความก้าวหน้าผลการ  ดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการ
          2.1.2  การวิเคราะห์และสรุปบทเรียนจากการดำเนินงานร่วมกัน ทั้งด้านปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประเด็นท้าทาย และปัญหาอุปสรรค อีกทั้งเพื่อเป็นการหนุนให้เกิดเครือข่ายในการทำงานของคนในพื้นท
    2.2 สังเคราะห์สรุปผลการถอดองค์ความรู้จากการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ รวมทั้งเพื่อได้ข้อบ่งชี้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติหรือกลวิธีในการป้องกันโรคเอดส์ ที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ  มีวิธีการดำเนินงานดังนี้
          2.2.1  สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานหรือรายงานการกำกับ ติดตามของคณะทำงานด้านวิชาการ และ key stakeholders ที่มีการเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานในระดับพื้นที่
          2.2.2 ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ปฏิบัติงาน และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประมวลสรุปประเด็นหลักที่เป็น Critical knowledge ของการดำเนินงาน รวมทั้งจัดทำกรอบประเด็นคำถามหลักสำหรับขอความร่วมมือจากผู้ดำเนินงานโครงการที่รับทุนสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ให้ข้อคิดเห็น
          2.2.3  จัดให้มีกระบวนการตรวจพิสูจน์ (verify) ว่าองค์ความรู้ที่ได้เป็นความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการป้องกันและความคุมโรคเอดส์ โดยใช้กระบวนการ PLD
          2.2.4  ศึกษาวิจัยเชิงลึกของการดำเนินโครงการในบางกลุ่มประชากร โดยเฉพาะกลุ่ม MSM และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนประสิทธิผลของกลวิธีการป้องกันในกลุ่มประชากรดังกล่าว
    2.3 ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลยุทธ์ที่ 2 ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชน และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยใช้ Common/ Core Indicators ที่กำหนดไว้ในแต่ละโครงการ เพื่อหา outcome measure
           2.3.1  การประเมินผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Evaluation) สำหรับการดำเนินการตามโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์  จะใช้การศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผล (Cost-Effectiveness) โดยที่ ประสิทธิผล (Effectiveness) คือการวัดความสามารถของกระบวนการ หรือกิจกรรมที่จะทำให้เกิดผลที่ต้องการ หรือคือการวัดขีดความสามารถของกระบวนการหรือกิจกรรมเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้การศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผล (Cost-Effectiveness) เป็นมาตรการที่มีประโยชน์ แต่การประยุกต์มาตรการนี้ ต้องมีการกำหนดเป้าหมายของกิจกรรมนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจนกับทั้งขอบเขตและวิธีการของการวัด output/outcome
            2.3.2  การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ทำให้ได้ข้อมูลแก่ผู้กำหนดนโยบายเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางให้เหมาะสมได้   เป็นข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกทางเลือก/ การดำเนินงานของผู้บริหารเพื่อวางแผนการดำเนินงาน การจัดสรรทรัพยากร และจัดบริการที่มีระสิทธิภาพ-ประสิทธิผล สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นในบริบทของพื้นที่ และการคาดประมาณต้นทุนในการดำเนินการเพื่อหาแหล่งงบประมาณมารองรับในการดำเนินงานในปีต่อไป
      2.4  จัดทำข้อเสนอแนะเชิงวิชาการและ/หรือนโยบายเกี่ยวกับรูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์  โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ


ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข: ในยุคปฏิรูประบบสุขภาพ. พิษณุโลก: สุรสีห์; 2544.

วิพุธ พูลเจริญ และคณะ. ประเทศไทยกับโรคเอดส์: ความก้าวหน้าและสิ่งท้าทายรายงานต่อ MDG ตามหัวข้อสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2547.